18 ทำอย่างไรให้กราฟิกไทย ได้มาตรฐานสากล
March 30th, 2010
ดีไซน์ไป บ่นไป ตอนนี้ เป็นการสนทนาเพื่อตีพิมพ์ในคอลัมน์ Round Table ของนิตยสาร Computer Arts Thailand ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010
เราได้รับเกียรติจากพี่ TNOP (ธีรนพ หวังศิลปคุณ) ที่กลับมาเยี่ยมเมืองไทยอีกครั้ง มาแบ่งปันประสบการณ์จากที่ได้ทำงานในต่างประเทศ พร้อมด้วยเคลวิน หว่อง, วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ และดนัยพันธ์ วัชรีวงศ์ มาร่วมวงคุยกัน
Tags: ดนัยพันธ์ วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา, ธีรนพ หวังศิลปคุณ, วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ, วีร์ วีรพร, เคลวิน หว่อง
Posted on Tuesday, March 30th, 2010 at 2:07 pm
Filed under Graphic Design, Podcast.
Subscribe RSS 2.0 feed.
You can skip to the end and leave a response. Pinging is currently not allowed.
ไม่แต่วงการกราฟิกที่เต็มไปด้วยคนบ้าสไตล์ วงการออกแบบโดยรวมของบ้านเรา เต็มไปด้วยคนที่สับสนความหมายของสไตล์กับดีไซน์ มันเต็มไปด้วยคนที่พร้อมจะสร้างเปลือกของอะไรก็ตามขึ้นมาโดยปราศจากความหมาย เนื้อหา ความเข้าใจในภาษาของการออกแบบ ถ้าเพียงแค่เนื้อหาเท่านี้ยังไม่มี ก็ยากที่หวังว่าจะได้เจองานออกแบบที่มีเนื้อหาและความหมายที่ดี
บ้านเราเต็มไปด้วยคนที่สนใจเรื่องซองจดหมาย แสตมป์ โดยไม่รู้้ด้วยซ้ำว่าเนื้อหาในจดหมายคืออะไร เปรียบได้ว่าบางคนอ่านเขียนยังไม่เป็นด้วยซ้ำ แต่ก็เรียกตัวเองว่านักเขียน เพราะสามารถใช้คอมพิวเตอร์กดตัวหนังสือออกมาเรียงกันตามชาวบ้านเขาได้
วงการออกแบบโดยครอบงำด้วยเอเจนซี่ นักจัดอีเวนท์ เซลแมน ที่ไม่ได้เข้าใจและเห็นค่างานออกแบบ แต่แค่ต้องการแสดงสถานะทางสังคมและวิถีชีวิตที่ใกล้เคียงกับเปลือกของคนต่างชาติ แต่แก่นแท้ของมันนั้นแทบไม่ไช่สิ่งจำเป็นสำหรับเส้นทางของเงินที่ไหลเข้าไหลออกในอุตสาหกรรมเลย
คงอีกนานมากครับ ที่วงการออกแบบบ้านเราจะพัฒนาไปสู่สากลได้ หรืออาจจะไม่มีวันนั้นเลยด้วยซ้ำ เพราะนับวันมันยิ่งแย่ลงแย่ลง ทั้งคนสร้างและคนเสพ คนกลุ่มใหญ่เริ่มเข้าใจว่าการหาทางลัด โปรโมทตัวเอง เข้าหาสื่อ เข้าหาคนมีอิทธิพลทางการสื่อสาร เป็นเส้นทางสู่การเป็นนักออกแบบที่มีชื่อเสียง โดยขาดแก่นของความสามารถที่แท้จริง แถมไม่รู้ตัวเอง ไม่ยอมรับ และไม่คิดจะรู้ว่าตัวเองขาดอะไร
เซเลเบตี้สามารถเป็นนักออกแบบได้ แต่นักออกแบบไม่สามารถได้รับการยอมรับจากตัวงานได้จนกว่าจะได้เป็นเซเลเบตี้ เหมือนบ้านเมืองเต็มไปด้วยร้านขายเพชรเทียมที่ตกแต่งประดับประดาด้วยตู้โชว์ราคาแพง ส่วนคนที่มาเลือกสินค้าก็ไม่ได้เลือกเพราะตนเองดูเพชรเป็น แต่เลือกซื้อเพราะราคา ขนาด เซลแมน และ ตู้โชว์
ผมคาดว่ามันจะเป็นวงจรที่วิ่งต่ำลงๆแบบนี้ไปจนถึงจุดหนึ่ง ที่คนเริ่มรู้สึกว่าทนไม่ได้ และเริ่มตั้งคำถามกับสังคมจริงๆว่า ทำไมบ้านเมืองเราถึงเต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างและภาพที่น่าเกลียดเต็มไปหมดเช่นนี้ ทำไมใครที่พยายามเป็นเหมือนคนต่างชาติถึงได้รับการยอมรับ ทั้งที่คนพวกนั้นเป็นเพียงนักฉวยสไตล์ แต่ไม่ไช่นักออกแบบ แล้วถ้าถึงวันนั้นจริง เด็กรุ่นใหม่และผู้ใหญ่รุ่นใหม่อาจจะได้ลืมตาอ้าปาก ได้โอกาสทำงานสร้างสรรค์ที่ดีอีกครั้ง
To เหวง : I like ur analogy but i think being negative isn’t gonna help anything..what r u doing to improve and solve this problem? or you just observe and complain.
การมองโลกในแง่ร้ายไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นได้พอพอกับมองโลกในแง่ดีนั่นแหล่ะครับ แต่อย่างน้อยมันก็ช่วยให้คนเห็นตัวเองได้หลายด้านมากขึ้นน่ะครับ
ส่วนเรื่องความเห็นของทางออก ย่อหน้าสุดท้ายผมก็เขียนไว้แล้วนี่ครับว่า ผมคาดว่าวงจรที่เป็นอยู่นี้มันจะวิ่งต่ำลงไปถึงจุดหนึ่ง จนผู้บริโภคเริ่มทนไม่ได้ ผู้ประกอบการก็เริ่มทนไม่ได้ ทุกคนจึงเริ่มพัฒนาตัวเอง เมื่อผู้บริโภคเริ่มเข้าใจดีไซน์มากขึ้น ความต้องการของที่ดีไซน์ดีจริงๆในตลาดเกิดขึ้น พ่อค้าก็ต้องวิ่งหาของมีคุณภาพนั้นมาเสนอให้ผู้บริโภค เมื่อถึงเวลานั้น คนที่เขาพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ อดทนสร้างฐานของตัวเองให้แน่น เขาก็จะมีโอกาสได้ลืมตาอ้าปาก ได้นำเสนองานที่ดีสู่สังคม มันก็จะเริ่มเป็นวงจรที่หมุนขึ้นตามธรรมชาติ
ดังนั้นถ้าจะให้เขียนแบบชัดๆก็คือ ผมคิดว่าใครก็ตามที่รักอาชีพที่ตัวเองทำอยู่จริงๆ ก็ควรจะเตรียมใจเจอเส้นทางที่ลำบากได้เลย และก็ควรจะเปิดโอกาสตัวเองให้เรียนรู้ไม่หยุด พัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ อย่ายอมแพ้ อย่าเปลี่ยนตัวเองไปใช้วิธีแบบคนที่เราไม่ชอบ แล้วสักวันหนึ่งโอกาสจะหมุนกลับมาหาพวกเขาเหล่านั้นเอง แต่ถ้าไม่อยากลำบาก เส้นทางที่ได้ดีแน่ๆมันก็มีสูตรสำเร็จของมันอยู่แล้ว อันนั้นก็ไม่ยากตัวอย่างก็มีให้เห็นเยอะแยะคงไม่ต้องเอามาบอกกันตรงนี้
แต่ถ้านิยามคำว่า”to improve and solve this problem” หมายถึงจะให้มาหาสูตรลัดกระตุ้นนักออกแบบให้โผล่มาเก่งเลย หรือแม้แต่จะไปขอให้เอเจนซี่, คนจัดอีเวนท์, เจ้าของบ้าน, หรือลูกค้าประเภทไหนก็ตาม พัฒนาการศึกษาเรื่องการออกแบบ ก่อนจะไปบังคับหรือจ้างนักออกแบบมาเลียนแบบงานคนอื่นให้หน่อย แบบนั้นผมว่าน่าจะฝันสูงเกินไปสำหรับสังคมไทยในเวลานี้ครับ
แต่สุดท้ายทุกอย่างมันมีธรรมชาติของมัน มันต้องใช้เวลาครับ ประเทศอื่นเขาก็ทำกันไม่รู้กี่ร้อยปีกว่าจะพัฒนากันได้ ไทยเราห่วยกว่าเขามาก เพราะมัวแต่หาวิธีลัดมาเป็นร้อยปีแล้วเหมือนกันนี่แหล่ะครับ
ลายไทยที่ปรากฏบน signage รถไฟใต้ดินนั้น
มีที่มาจากลวดลายบนราชรถในจิตรกรรมไทยโบราณ
ออกแบบโดย Contour ครับ (แต่ผมไม่ได้ทำที่นั่นนะ)
You did not work on it, or can’t do it.
I work in the US for 5 years and back and work in a world class Ads agency in Thailand. I have seen and works on a lot of stuff. I agree Thai people and AE care too much about stylize. I make me sick everyday I hear their comment. They have not idea about design fundamental. Totally opposite when I work in the US, they strongly care about design principle no matter what projects are. All Typography are well structure, never let any un-editing work out to clint hand, because it show how civilize they are as a real professional not a student work.